วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ป่ะ ๆ ๆ ๆ ไปแอ่วแม่แจ่ม...



อำเภอ...แม่แจ่ม
          หากพูดถึงอำเภอแม่แจ่มคนทั่วไปอาจไม่ค่อยคุ้นหู แม้แต่คนในจังหวัดเชียงใหม่เองบางท่านอาจไม่รู้ด้วย ซ้ำว่า อำเภอนี้อยู่ส่วนไหน อำเภอแม่แจ่มตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดเชียงใหม่หลัง ดอยอินทนนท์ ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 150 กม. มีเขตติดต่อกับอำเภอสะเมิง แม่วาง จอมทอง ฮอดจังหวัดเชียงใหม่และ อำเภอแม่สะเรียง ขุนยวม ปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนอำเภอแม่แจ่ม เป็นอำเภอเล็กๆในอ้อมกอดของ หุบเขามี วัฒนธรรมที่งดงาม มีวิถีชีวิตอันเรียบง่ายในอดีตการเดิน ทางมาแม่แจ่มค่อนข้างลำบาก ถนนหนทางคดเคี้ยวไป ตามไหล่เขา จนได้ ถูกเรียกว่าเป็นเมืองลับแลในหุบเขา เมืองแม่แจ่ม มีอดีตอันยาวนาน มีผู้คนอาศัยจากหลาย เชื้อชาติ แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงรักษาไว้ก็คือ วัฒนธรรมและวิถีการดำเนินชีวิตของคนแม่แจ่มที่ยังคงเรียบง่ายแต่แฝงไว้ด้วยนัยยะตามหลักพุทธธรรมคำสอน นอกจากความงดงามของวิถีชีวิตแล้ว แม่แจ่มยังเป็นเมืองสงบและนิ่ง ไร้การปรุงแต่งมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์รวมทั้งวิถีชีวิตที่เรียบง่าย อีกทั้งวัดวาอารามเก่าแก่อันทรงคุณค่า และสายน้ำ แม่แจ่มที่หล่อเลี้ยงผู้คนเมืองแม่แจ่ม ในวันนี้อาจไม่ใช่เมืองปิดอีกต่อไป มีการเปลี่ยนแปลงไปตาม ยุคโลกา ภิวัฒน์ แต่ยังคงรักษาความเป็นเสน่ห์ของคนแม่แจ่มที่มีรอยยิ้มอันงดงาม อบอุ่นด้วยน้ำใจ ไม่มีการ แข่งขัน มีแต่ ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ภาพเช่นนี้อาจหาชมได้ไม่ง่ายนักในสังคมเมืองขนาดใหญ่ทว่ากลับพบ เห็นได้อย่าง ง่ายดายในยามท ี่คุณเดินทางมาเยือนเมืองในแม่แจ่ม หลายคนที่อยากจะ สัมผัสกลิ่น ไอของความเป็นธรรมชาติและความเรียบง่ายของผู้คน อยากแนะนำให้ ลอง มาเยือนเมืองแม่แจ่มสักครั้งแล้ว จะรู้ว่า แท้จริงในความเรียบง่าย ของผู้คนก็มีความงดงามแฝงเอาไว้

"ภูมิปัญญาเฉพาะถิ่น....ที่สืบทอดกันมา"



...ผ้าทอตีนจกแม่แจ่ม...


อำเภอแม่แจ่มถือได้ว่าเป็นชุมชนหนึ่งที่มีการทอผ้าซิ่น ตีนจกกันมากที่สุด ผ้าทอของแม่แจ่มมีเอกลักษณ์ ในการทอหรือจกในลักษณะการคว่ำลาย ทำให้ลวดลายที่ได้สวยงาม ปราณีตเฉพาะแบบไม่เหมือนใคร ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่มยังถือเป็นศิลปหัตถกรรมท้องถิ่นล้านนาที่สืบทอดเป็นมรดก ทางวิถีชีวิตและวัฒนธรรม การทอผ้าตีนจกถือได้ว่าเป็นวิถีชีวิตของผู้คนที่นั่นอย่างชัดเจนที่สุด นับตั้งแต่ที่ผู้หญิงแม่แจ่มเริ่มเรียนรู้วิธีการทอผ้าในวัยสาว จนกระทั่งถึงวัยแก่ชีวิตของพวกเขาก็ยังมีการทอผ้าอยู่เสมอ ที่เห็นได้ชัดเมื่อเวลามีงานบุญสำคัญต่าง ๆ ชาวแม่แจ่มก็จะนำผ้าตีนจกที่ทอเก็บไว้ออกมานุ่งกัน นอกจากนั้นผ้าตีนจกยังเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของผู้หญิงชาวแม่แจ่ม ตั้งแต่เกิดจนตาย 


สตรีชาวแม่แจ่มยังมีการเตรียมซิ่นตีนจกไว้นุ่งหลังจากตายเพื่อให้ดวงวิญญาณ ได้ไปสักการะพระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ การสืบทอดการทอผ้าของคนในอดีตมักจะเกิดจากแรงบันดาลใจในการทอผ้าเพื่อไว้ใช้ ในครัวเรือน การแสดงออกซึ่งวุฒิภาวะที่เหมาะสมกับการดูแลตนเองและครอบครัว รวมถึงการแสดงออกซึ่งความกตัญญูต่อบุพการีผู้มีพระคุณ แม้ว่าปัจจุบันคนรุ่นใหม่จะหันไปหาวัตถุนิยมจากสังคมภายนอกที่หลั่งไหลเข้า มากลืนกินวิถีชีวิตของคนในชนบท แทบจะเรียกได้ว่า วัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่เช่นนี้กำลังจะหายไปจากวิถีชีวิตของพวกเขา

ผ้าทอตีนจก เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของผู้หญิงใน อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
ที่มีเอกลักษณ์และเป็นมรดกสำคัญของประวัติศาสตร์แม่แจ่ม เป็นการทอลวดลายที่มีลักษณะพิเศษ ในการทอจะคว่ำลายลงด้านล่าง ขณะอีกด้านหนึ่งจะเรียบไม่มีเส้นด้ายไขว้ไปมา ซึ่งเป็นวิธีทอจกที่เป็นภูมิปัญญาเฉพาะถิ่น
มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย

องค์ประกอบผ้าซิ่นตีนจกประกอบด้วย
1. หัวซิ่น คือผ้าชิ้นบนสุดซึ่งเป็นสีขาว กับชิ้นล่างซึ่งเป็นสีแดงหรือดำ
2. ตัวซิ่น ทอเป็นผ้าสีหม้อห้อม และนำมาประกอบเป็นซิ่นลายขวางเย็บต่อจากหัวซิ่น
3. ตีนซิ่น คือส่วนที่ทอด้วยจกเย็บต่อจากตัวซิ่น สำหรับลวดลายตีนจกโบราณแม่แจ่มจะมีสีออกโทนเหลือง



ปัจจุบันผ้าตีนจกแม่แจ่มได้รับการประกาศจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อันสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจาก แหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพผ้าทอตีนจกที่ทอจากแหล่งอื่นจะอ้างว่าเป็นผ้าทอตีนจกจากแม่แจ่มไม่ได้ การขึ้นทะเบียนดังกล่าวเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคหรือผู้ใช้ให้ได้ สินค้าที่มีคุณภาพและรู้แหล่งผลิตอย่างชัดเจน



การทอผ้าตีนจกถือได้ว่าเป็นวิถีชีวิตของผู้คนที่นั่นอย่างชัดเจนที่สุด นับตั้งแต่ที่แม่ญิงแม่แจ่มเริ่มเรียนรู้วิธีการทอผ้าในวัยสาวจนกระทั่งถึงบั้นปลายของชีวิต พวกเธอก็ยังทอผ้าอยู่เสมอที่เห็นได้ชัดเมื่อเวลามีงานบุญสำคัญต่างๆแม่ญิงชาวแม่แจ่มก็จะนำผ้าตีนจกมานุ่งกัน ผ้าซิ่นตีนจกเป็นมรดกจากบรรพบุรุษมาแต่โบราณกาลอันเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้น และสร้างลวดลายขึ้นบนผืนผ้าด้วยการจก คือ การสอดหรือควักเส้นฝ้ายสีต่าง ๆ ที่พุงสลับกันเพื่อให้เกิดเป็นรูปและลวดลายต่าง ๆ ขึ้นมา โดยใช้ขนเม่น โลหะ หรือ ไม้ปลายแหลมเป็นเครื่องมือ 





ซิ่นตีนจกนับเป็นงานทอผ้าที่มีกรรมวิธีการผลิตอันยาวนานมีสีสันและลวดลายที่วิจิตรงดงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งแสดงออกถึงความเพียรพยายาม ความละเอียดประณีต ในจิตใจของผู้ถักทอ จากสภาพสังคมที่สงบสุข ธรรมชาติที่งดงามหล่อหลอมและสร้างสรรค์งานหัตถกรรมที่ทรงคุณค่านี้มาช้านานแล้ว 



 นอกจากจะมีผ้าซิ่นตีนจกแล้ว ยังมีการนำผ้าลายจกต่าง ๆ มาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์อีกหลายอย่าง เช่น หมอน หมวก ถุงย่าม กระเป๋า เนคไท  เสี้อ เป็นต้น

หน้าหมอน และหมวก
ถุงย่าม

เนคไท จากลายผ้าจก

ผ้าทอพื้นเมือง
บ่ว่าจะเป๋นล่ะอ่อนหรือคนเฒาก่อปากั๋นนุ่งซิ่นตีนจก


...ปิ่นแก้วจั๋น (ปิ่นโบราณ)...



ปิ่นแก้วจั๋น(ปิ่นโบราณ)
ปิ่นโบราณเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้คู่กับการแต่งกายของชาวล้านนามากว่า700 ปี ปิ่นเป็นเครื่องประดับชนิดหนึ่งของสตรีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นศิลปะภูมิปัญญาชาวบ้าน

พ่อก้อนแก้ว  อินต๊ะก๋อน (ช่างทำปิ่น)





เป็นการทำปิ่นทองเหลืองแห่งเดียวใน อ.แม่แจ่ม ลักษณะของปิ่นจะเป็นช่อลดหลั่นกันลงมา วิธีการทำปิ่นจะไม่ใช้เครื่องจักรแต่ใช้ศิลปะการทำแบบดั้งเดิม หัวปิ่นบางครั้งจะประดับด้วยแก้วสีต่างๆงดงามอ่อนช้อย




นอกจากนี้ยามใดเมื่อจะไปวัดในวันศีล แม่อุ้ยหรือคนแก่ผู้หญิง หรือจะเป็นผู้หญิงที่เกล้ามวย จะเหน็บดอกไม้กันถ้วนหน้า คนแม่แจ่มบอกว่า เหน็บดอกไม้นี้เพื่อบูชาหัว และเพื่อจะก้มกราบบูชาพระเจ้าอีกด้วย ดอกไม้เห็บหัวที่เหมาะสมและสวยงาม น่าจะเป็นดอกเอื้องผึ้ง ซึ่งจะบานเต็มคาคบต้นลำไย ต้นมะม่วง ในช่วงยามปี๋ใหม่สงกรานต์ ครั้นไม่ถึงช่วงยามบ่ายที่ดอกเอื้องผึ้งจะบาน ชาวบ้านก็จะคิดประดิษฐ์เป็นช่อเอื้องคำ ทั้งโลหะแพงค่า อย่างทองคำ เงินหรือทองเหลือง เรียกว่า เอื้องเงินเอื้องคำ

เกล้าผม ปักปิ่น เหน็บดออก

...นาข้าวขั้นบันได...



นาขั้นบันไดคือหารทำนาในพื้นที่ไม่เรียบเป็นภูเขา ต้องมีการจัดสรรน้ำจากที่สูงไหลลงมายังที่ต่ำตามชั้นของนาขั้นบันได ทำให้ภาพท้องนาที่ออกมาดูสวยแปลกตาออกไปไม่เหมือนนาปีนาปังภาคกลาง ในประเทศไทยจะเห็นไม่มากนัก แต่ที่เห็นเยอะและดังไปทั่วโลกคือนาขั้นบันไดของซาปา ประเทศเวียดนาม





ที่แม่แจ่มเป็นอีกพื้นที่หนึ่งของไทยที่สามารถชมนาขั้นบันไดได้ ถึงแม้ไม่มากเท่าเวียดนามก็ตาม นอกจากแม่แจ่มผมยังเคยเห็นที่แม่ตื่น อำเภออมก๋อยจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย ถึงแม้นาขั้นบันไดที่แม่แจ่มจะลดลงไปบ้างเนื่องจากชาวนาได้เปลี่ยนจากปลูกข้าวไปเป็นข้าวโพดในบางปีที่ข้าวโพดแพง แต่ก็เพียงพอที่จะให้เราได้ชมความสวยงามของนาขั้นบันไดแม่แจ่ม





หากมาในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือน ก.ย. - ต.ค. จะพบทุ่งนาเขียวขจีเต็มท้องทุ่ง โดยเฉพาะเอกลักษณ์ท้องทุ่งนาขั้น บันได ท่ามกลางสายหมอกแห่งฝน  และหากมาในช่วงปลายฝนตกหนาว พ.ย.ทุ่งนาก็จะเปลี่ยนไปเป็นสีทอง เหลืองอร่ามยิ่ง กระทบกับแสงสีทองอ่อนๆขอดวงอาทิตย์แล้ว ยิ่งงดงามยิ่งนัก


"นาข้าวที่เขียวขจี...ไปทั่วท้องทุ่ง"

...ถั่วเน่าเมอะ แม่แจ่ม...




ถั่วเน่าเป็นอาหารพื้นบ้านของแม่แจ่มที่สืบทอดต่อๆกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนกระทั่งถึงรุ่นลูกหลานในปัจจุบัน ชาวบ้านมักนำถั่วเน่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น น้ำพริกถั่วเน่า หรือนำมาปรุงรสชาติของอาหารอื่นๆ แทนกะปิ ปลาร้า หรือน้ำปลา เช่น ใส่ในจอผักกาด  ใส่แกงต่างๆ เป็นต้น การทำถั่วเน่ามีการทำกันเกือบทุกบ้าน ชาวบ้านมักจะทำเป็นเครื่องปรุงอาหารไว้กินเองในบ้านและจัดออกจำหน่ายบางส่วน นอกจากนี้ถั่วเน่าชาวแม่แจ่มยังขึ้นชื่อในเรื่องของกลิ่น และรสชาติที่ไม่เหมือนใคร


วัตถุดิบและอุปกรณ์         1. ถั่วเหลือง
         2. เกลือ
         3. น้ำ
         4. ตะกร้า
         5. ครกและสาก
         6. หม้อ
         7. ไม้คน
         8. ใบตอง/ใบสัก
         9. ตอก
       10. กระสอบ

วิธีการทำ         1. ล้างถั่วเหลืองให้สะอาด นำไปต้มในหม้อไฟพอดี เติมน้ำเรื่อยๆใช้เวลา 1 วัน 1 คืน จนถั่วเปื่อย
         2. นำถั่วเหลืองขึ้นจากน้ำที่กำลังร้อนๆนำลงตะกร้าที่ตรียมไว้เพื่อหมัก 3 วัน 3 คืน จนถั่วเหลืองหมักขึ้นราและมีกลิ่น
         3. นำไปตำในครกจนแหลกพร้อมใส่เกลือลงไปพอประมาณ
         4. นำถั่วเหลืองที่ตำละเอียดบรรจุลงในใบตองใช้ตอกเส้นมัดให้แน่น
         5. นำไปอย่างบนเตาไฟอ่อนๆประมาณครึ่งวันจนมีกลิ่นหอม
         6. นำไปประกอบอาหารได้


หมายเหตุ  เก็บไว้ได้ประมาณหนึ่งเดือน

วิธีการทำถั่วเน่าเมอะ


ต้มถั่วเหลือง

นำขึ้นมาใส่ที่หมักขณะร้อน ๆ

หมักไว้ 3 วัน


จนให้ขึ้นรา


นำมาตำในครกจนแหลก

แล้วตักใส่กะละมัง


บรรจุลงในใบตอง หอให้เรียบร้อย

ย่างบนเตาถ่านอ่อน ๆ




...ทำความรู้จัก "น้ำปู๋" สุดยอดอาหารของชาวแม่แจ๋ม...

 



ปูนา ชอบขุดรูอาศัยอยู่ตามทุ่งนา คันนา บริเวณชายคลอง คันคู และคันคลองชลประทานต่าง ๆ โดยมีแหล่งอาหารและน้ำเป็นปัจจัยหลัก ลักษณะและตำแหน่งของรูปูนาจะแตกต่างกันตามสภาพของพื้นที่ ดินฟ้าอากาศและน้ำซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต บริเวณที่มีน้ำปูจะขุดรูในที่ ๆ น้ำท่วมไม่ถึง ในฤดูแล้งช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พื้นนาแห้ง ดินขาดน้ำ ระดับน้ำใต้ดินลึก ปูจะขุดรูทำมุมกับแนวระดับลึกมาก และจะลึกที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคมและใช้ดินปิดปากรูเพื่อรักษาความชุ่มชื้น ภายในรู หรือไม่ก็อพยพจากท้องนาไปยังหนองน้ำใกล้เคียง ในกรณีที่เกิดฝนตก เกิดอุทกภัย น้ำท่วมคันนา ปูจะหลบอาศัยเกาะอยู่ตามกอหญ้าริม ๆ น้ำ โดยใช้ก้ามเกาะต้นหญ้าพยุงตัวลอยอยู่ในน้ำ ปูนาจัดได้ว่าเป็นแหล่งอาหารโปรตีนสัตว์ราคาถูกและหาได้ง่ายในธรรมชาติ



ปูนา เป็นศัตรูพืชมันจะออกหากินกลางคืนไปกัดกินต้นข้าวอ่อนทำให้ข้าวตายหมด ชาวนาจึงต้องเอาไฟฉายไปฉายและเก็บตอนกลางคืน



 
น้ำปู หรือ น้ำปู๋ เป็นอาหารที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านในภาคเหนือ เป็นการถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้กินเป็นเวลาเเรมปี นอกจากที่ชาวบ้านจะทำไว้กินเอง เเล้วยังนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมอีกด้วย 
น้ำปู กลิ่นเหม็นมากแต่เมื่อสุกแล้วจะหอม ชาวแม่แจ่มจะทำน้ำปูกันประจำและใช้น้ำปูแทนปลาร้าและกะปิใส่อาหารได้หลายอย่างค่ะ เพราะน้ำปูเมื่อทำเสร็จจะเหนี่ยวสีดำสนิทมีคุณค่าทางอาหารมากค่ะเช่น แกงหน่อไม้ ยำหน่อไม้ ทำน้ำพริกน้ำปู และคลุก-กับข้าวเหนียว (คนเหนือว่าบ่ายน้ำปู๋) น้ำพริกน้ำปูจะใช้พริกสดเผา หรือพริกแห้งคั่วป่น ขึ้นอยู่กับความชอบ น้ำปูยังมีแคลเซียม และวิตามินด้วย 

วิธีการทำน้ำปู





น้ำปูของแม่แจ่มดังนะค่ะ ไม่ใช่ธรรมดา เขามีการทำบรรจุใส่ภาชนะขายตามตลาดและบ้านใกล้เคียงด้วย บ้านไหนไม่ได้ทำก็มาหาชื้อได้ น้ำปู๋ของแม่แจ่มนั้นอร่อยจริงๆ น่ะค่ะ ไม่เชื่อลองมาชิมดูสิ...แล้วจะติดใจ